บ้านแฝด ผนังไม่ติดกัน เป็นอย่างไร และน่าอยู่หรือไม่
บ้านแฝด ผนังไม่ติดกัน เป็นอย่างไร และน่าอยู่หรือไม่ “บ้านแฝด” หมายถึง อาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยก่อสร้างติดกันสองบ้าน มีผนังแบ่งอาคารเป็นบ้าน มีที่ว่างระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินติดกับตัวอาคารด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้างของแต่ละบ้าน และมีทางเข้าออกของแต่ละบ้านแยกจากกันเป็นสัดส่วน โดยมีขนาดที่ดินไม่น้อยกว่า 35 ตร.ว. โดยบ้านแฝดต้องมีที่ว่างด้านหน้าและด้านหลังระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับแนวผนังอาคารกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร และ 2 เมตร ตามลำดับ และมีที่ว่างด้านข้างกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร พูลวิลล่าภูเก็ต
บ้านแฝดเชื่อมกันได้กี่แบบ ดีหรือไม่ดี?
อย่างที่เกริ่นไปในตอนต้น “บ้านแฝด” ในปัจจุบันมีรูปแบบค่อนข้างหลากหลาย โดยแต่ละ Developer ก็พยายามพัฒนาแบบให้ดูทันสมัยมากยิ่งขึ้น แบบใหม่ๆที่ออกมาแถบไม่ต่างกับบ้านเดี่ยวเลย โดยเท่าที่เราได้รวบรวมหาข้อมูลมา สามารถแบ่งการเชื่อมต่อออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ เชื่อมเต็มผนัง เชื่อมบางฟังก์ชันในบ้าน เชื่อมกันที่คานด้านบน และเชื่อมกันที่คานชั้นใต้ดิน ซึ่งแต่ละแบบก็มีข้อดี/ข้อเสียแตกต่างกัน และแบบไหนที่เหมาะกับใครบ้าง?วิลล่าภูเก็ตที่ขาย
1.เชื่อมเต็มผนัง
สำหรับแบบแรกที่เราจะพาไปรู้จัก ใครเห็นก็คงร้องอ่อแล้ว เพราะเป็นแบบที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดี เป็นแบบแรกๆที่มีบ้านแฝดเกิดขึ้นมา โดยแบบที่ใช้ผนังร่วมกัน มีทั้งเชื่อมทั้ง 2 ชั้น และเชื่อมกันเฉพาะชั้นล่าง แต่ก็ยังมีหลังคาแยกจากกันได้อารมณ์บ้านเดี่ยว
- ข้อดี : เหตุผลหลักเลยที่เชื่อมกันแบบนี้ เพื่อเพิ่มพื้นที่ด้านข้างของบ้าน(สีแดง) ให้กว้างมากขึ้น จะได้ใช้งานพื้นที่รอบบ้านได้จริง
- ข้อเสีย : ผนังที่ใช้ร่วมกันกับเพื่อนบ้าน ส่วนใหญ่จะติดตำแหน่งห้องพักอาศัย (พื้นที่สีเหลือง) ซึ่งเป็นการใช้ผนังร่วมกันของบ้านทั้ง 2 หลัง ทำให้เวลาอยู่อาศัยอาจจะได้ยินเสียงของบ้านข้างๆได้ แต่ก็แก้ได้ด้วยการเพิ่มผนังอีกชั้นนะ
เหมาะกับ – คนที่อยากได้พื้นที่รอบบ้านไว้จัดสวน ปลูกต้นไม้ ทำมุมพักผ่อน ได้บรรยากาศคล้ายบ้านเดี่ยว แต่ราคาถูกกว่าค่ะ
2.เชื่อมบางฟังก์ชัน(พื้นที่)ในบ้าน
ถัดมาเริ่มพัฒนารูปแบบให้ผนังบ้านห่างกันมากขึ้น เพื่อความเป็นส่วนตัว โดยเลือกเชื่อมเฉพาะบางฟังก์ชันของตัวบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเชื่อมที่โซน Service เช่น ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องเก็บของ เป็นต้น
- ข้อดี : การเชื่อมบางฟังก์ชันที่ไม่ได้พักอาศัย ทำให้ไม่ต้องห่วงเรื่องเสียงรบกวน แถมทำให้บ้านมีช่องแสงมากยิ่งขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะชั้นบนที่มีระยะห่างเกิน 2 ม. ทำให้เจาะช่องหน้าต่างได้
- ข้อเสีย : ผนังที่ใช้รวมกัน ถ้าเป็นตำแหน่งของห้องครัว เวลาทำกับข้าวอาจจะมีเสียงรบกวนบ้าง
เหมาะกับ – คนที่ต้องการฟังก์ชันใช้งานเพิ่มขึ้น โดยไม่รบกวนพื้นที่ภายในบ้าน สังเกตส่วนที่ยื่นออกมาได้โครงสร้างเพิ่ม ไม่ต้องเสียเงินต่อเติมเองในอนาคตVillas in Pasak
3.เชื่อมกันที่คานด้านบน
แบบต่อมาก็พัฒนามากขึ้นอีก โดยส่วนมากจะเชื่อมกันที่คานของตัวบ้านทั้ง 2 หลัง โดยแนวคานจะเชื่อมทั้งจากตัวบ้านและหลังคาโรงรถ ทำให้ไม่ต้องมีผนังฝั่งไหนเชื่อมกันเลย เป็นการเพิ่มระยะห่างให้มีพื้นที่รอบบ้านคล้ายกับบ้านเดี่ยว ซึ่งการพัฒนาแบบบ้านในลักษณะนี้ทำให้รูปแบบบ้านแฝดเปลี่ยนไปจากเดิมเลยนะคะ
- ข้อดี : คานที่เชื่อมกันด้านบนทำให้ผนังของตัวบ้านมีระยะห่างกันมากขึ้น พร้อมพื้นที่รอบตัวบ้าน สามารถเปิดช่องแสงได้ทั้ง 4 ด้าน ใกล้เคียงกับบ้านเดี่ยวเลย
- ข้อเสีย : แม้จะสามารถเปิดช่องแสงจะเข้าทั้ง 4 ด้าน แต่ฝั่งที่ติดกับเพื่อนบ้าน ส่วนใหญ่จะทำผนังให้ห่างจากแนวเขตที่ดินไม่มาก เป็นระยะที่พอเดินผ่านได้เท่านั้น ซึ่งอาจเสียพื้นที่โดยไม่จำเป็น
เหมาะกับ – คนที่ชอบให้แสงเข้ารอบบ้านคล้ายกับบ้านเดี่ยว แถมถ้ากรณีที่คานเชื่อมกันที่โรงจอดรถ เรายังสามารถต่อเติมหลังคาบังแดดได้ง่ายอีกด้วย
4.เชื่อมกันที่คานใต้ดิน
แบบสุดท้าย คิดว่าคงเป็นแบบที่ใครหลายๆคนชื่นชอบ เพราะส่วนที่เชื่อมกันของโครงสร้างจะลงไปเชื่อมที่ชั้นใต้ดินแทน ส่วนใหญ่จะเป็นแนวคานของบ้านทั้ง 2 หลัง ซึ่งทำให้มองจากภายนอกไม่เห็นส่วนที่เชื่อมกัน เหมือนเป็นบ้านเดี่ยวที่ถูกวางในที่ดินที่เล็กลง
- ข้อดี : ดูผิวเผินไม่ต่างจากบ้านเดี่ยวเลย ไม่มีส่วนไหนเชื่อมกันให้เห็นด้วยตา สำหรับคนที่อยากได้บ้านเดี่ยวในราคาถูกคงชื่นชอบแบบนี้กัน
- ข้อเสีย : ยังติดข้อจำกัดของบ้านแฝด ด้วยขนาดที่ดินไม่ใหญ่มาก ทำให้ฝั่งที่ต้องชิดกับเพื่อนบ้าน ยังคงต้องมีระยะห่างไม่มากนัก ซึ่งถ้าห่างไม่เกิน 2 ม. ก็ไม่สามารถเจาะช่องเปิดได้
เหมาะกับ – คนที่อยากได้บ้านเดี่ยว แต่มีงบไม่มาก และไม่ซีเรียสเรื่องขนาดที่ดิน เน้นใช้งานฟังก์ชันภายในมากกว่า
นอกจากนี้สำหรับใครที่อยากได้พื้นที่ใช้สอยมากกว่า 200 ตร.ม. ขึ้นไป และชอบบ้านแนวสูง เน้นใช้งานพื้นที่ภายในมากกว่าพื้นที่สวนรอบบ้าน เราก็มี “บ้านแฝด 3 ชั้น” มาแนะนำ ซึ่งบ้านลักษณะนี้จะเน้นดีไซน์ Facade หลากหลาย ทั้งแบบโมเดิร์น แบบคอทเทจ แบบคลาสสิค และคาดว่าในอนาคตคงมีการพัฒนาโปรดักซ์แบบนี้มากขึ้นเรื่อย เนื่องจากปัจจุบันที่ดินราคาสูงขึ้น แต่สวนทางกับการใช้งานของคนที่ต้องพื้นที่มากขึ้น การพัฒนาบ้านแนวสูงจึงถูกนำมาใช้ รวมไปถึงบ้านแฝดด้วยเช่นกัน พูลวิลล่าภูเก็ต
ส่วนที่เชื่อมต่อกันก็คล้ายกับบ้านแฝด 2 ชั้นนะคะ แต่ก็มีแบบที่น่าสนใจ คือแบบที่เชื่อมคานแต่กั้นกลางระหว่างบ้านด้วยผนังทึบ เพื่อให้ผนังฝั่งนี้สามารถเจาะช่องเปิด(หน้าต่าง)ได้ ทำให้ภายในบ้านดูโปร่งโล่ง ไม่มืดทึบ และมีความเป็นส่วนตัวในการอยู่อาศัยมากขึ้นบ้านแฝดอาจไม่เป็นที่นิยมนัก วิลล่าภูเก็ตป่าสัก เพราะมีลักษณะกึ่งบ้านเดี่ยวหรือทาวน์โฮม/ทาวน์เฮ้าส์ และปีหนึ่ง ๆ จะมีบ้านแฝดเกิดขึ้นน้อยเมื่อเทียบกับที่อยู่อาศัยประเภทอื่น แต่หากพิจารณาเรื่องความคุ้มค่าด้านฟังก์ชัน พื้นที่ใช้สอย ความเป็นส่วนตัว และค่าใช้จ่ายแล้ว นับว่าเป็นตัวเลือกที่น่าอยู่น่าซื้อมากทีเดียว