บ้านผนังช่องลม หายใจได้และไม่ต้องรับน้ำหนัก
ถ้าพูดว่า “บ้านหายใจได้” หลาย ๆ บ้านผนังช่องลม คนอาจจะงงว่า บ้านไม่ใช่สิ่งมีชีวิตจะหายใจได้อย่างไร แน่นอนว่าบ้านหายใจด้วยตัวเองไม่ได้ แต่ในองค์ประกอบของบ้านจำเป็นต้องมีช่องทางให้อากาศไหลเข้าและไหลออกหมุนเวียน ให้บ้านได้รับอากาศใหม่ ๆ เหมือนกับคนที่ต้องรับอากาศใหม่เข้ามาตลอดเวลา บ้านในยุคนี้จึงต้องสร้างช่องทางให้บ้านได้รับลมเข้ามาได้มาก โดยเฉพาะบ้านในเขตร้อนที่ต้องเปิดมากเป็นพิเศษ แต่ในขณะที่เราอยากเปิดให้กว้างก็ยังคงต้องการความเป็นส่วนตัวอยู่ ดูเหมือนจะเกิดความย้อนแย้งแต่ว่าเราสามารถนำความต้องการสองอย่างนี้มาบรรจบกันได้ บ้านเดี่ยว
ผนังบ้านที่มีช่องว่างให้หายใจ
ในบ้านยุคเก่า ๆ เราจะเห็นว่าในโซนที่ต้องการรับลมอย่าง ห้องน้ำ ห้องครัว จะถูกแทรกด้วยอิฐช่องลมหรือบล็อกช่องลม แต่ในบ้านยุคใหม่พื้นที่เพียงเท่านั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้บ้านอยู่ในสภาวะสบาย จึงออกแบบฟาซาดหรือเปลือกบ้านทำด้วยบล็อกช่องลมทั้งหมด เพื่อให้แสงและลมเข้าสู่ตัวบ้านได้เต็มพื้นที่ ในขณะเดียวกันก็มีคำถามว่า แล้วช่องว่างมากขนาดนี้ ฝุ่น ฝน ก็เข้าสู่ตัวบ้านได้เต็มที่เช่นกัน จะมีวิธีป้องกันอย่างไร พูลวิลล่าภูเก็ต
บ้านผนังนัง 2 ชั้น ด้านนอกช่องลม ด้านในกระจก คำตอบของคำถามด้านบนนี้ง่ายมาก คือ นักออกแบบแก้โจทย์ด้วยการ ทำระบบผนัง 2 ชั้น ชั้นนอกสุดคือเปลือกบ้าน เป็นบล็อกช่องลมทั้งสองด้าน แล้วเว้นพื้นที่ว่างเอาไว้เป็นโถงทางเดิน จากนั้นก็จะใส่ผนังบ้านด้านในทำจากกระจกอีกชั้นหนึ่ง ด้วยวิธีนี้จะทำให้บ้านยังคงความเป็นส่วนตัวและมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน ในวันที่ลมแรงก็เลื่อนผนังกระจกปิดเอาไว้ บ้านก็ยังคงได้รับแสงแต่ไม่มีปัญหาเรื่องฝุ่นแม้ผนังจะเป็นช่อง ๆ แต่ก็มีส่วนที่ทึบอยู่ในส่วนกรอบบล็อก ซึ่งพอจะช่วยพรางตาให้บ้านได้บ้าง เจ้าของบ้านปลูกต้นไม้ให้ช่วยเป็นโล่กำบังแสงและสายตาของผู้คนที่ผ่านไปมา สำหรับคนที่ต้องการความส่วนตัวมากขึ้นก็อาจจะเลือกลายที่เล็กและถี่ หรือเปลี่ยนเป็นวัสดุอื่น ๆ ที่มีช่องว่างคล้าย ๆ กันก็ได้หมดปัญหาเรื่องกลิ่นและควันในครัวกวนใจ เพราะผนังเต็มไปด้วยช่องว่าง ไม่ว่างานครัวจะหนักแค่ไหนก็ไม่หวั่น หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าบ้านหลังนี้จะมีเสากลมอยู่ในอาคารและนอกอาคาร เสาเหล่านี้จะทำหน้าที่รองรับน้ำหนักโครงสร้าง แทนผนังบ้าน จึงสามารถใส่บล็อกช่องลมหรือผนังกระจกได้ตลอดแนว
บ้านอิฐช่องลม ให้ผนังกลายเป็นกระถางปลูกต้นไม้
บ้านอิฐที่กลมกลืนธรรมชาติ
Flick House โปรเจ็คบ้านหลังนี้เริ่มต้นจากความต้องการบ้านที่ชวนให้หวนระลึกถึงความทรงจำบ้านในอดีตในชวากลาง ซึ่งเต็มไปด้วยบรรยากาศของบ้านมีทั้งความเรียบง่ายและอบอุ่น ในขณะที่ก็ต้องการบ้านที่สอดคล้องกับสภาพอากาศและมีความทันสมัย สถาปนิกกับเจ้าของบ้านจึงตกลงที่จะใช้อิฐเป็นวัสดุหลักของบ้าน เพราะอิฐเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น แม้จะก่อสร้างใหญ่โตแต่กลับมีพลังของความเป็นมิตรและอบอุ่น เลือกสถาปัตยกรรมสีเขียว (Green Architecture) เป็นแนวคิดหลักที่จะนำไปใช้ในทุกส่วนของบ้าน
บ้านผนังช่องลมเจาะช่องว่างใส่ต้นไม้
บ้านสองชั้นใช้แนวคิดสถาปัตยกรรมสีเขียวที่นำธรรมชาติมาผสมผสานกับเทคโนโลยี ด้วยการเพิ่มช่องทางการเข้าของอากาศและแสงสว่างในหลายส่วนๆ ทั้งในบ้านและนอกบ้าน จากภายนอกเราจะเห็นสวนในชั้นล่าง และการเฉือนผนังบ้านให้เป็นช่องว่างจัดพื้นที่ปลูกต้นไม้บนชั้นสอง ซึ่งเป็นวิธีการเชื่อมธรรมชาติให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอาคารแบบที่ไม่ค่อยได้เห็น สถาปนิกยังออกแบบผนังสองชั้น Double-Skin Facade หรือ พูลวิลล่าภูเก็ต ผนังสองชั้นซึ่งมีผนังอิฐสลับอิฐช่องลม ทำหน้าที่เป็นปราการกั้นกรองแสงแดดชั้นนอก กันความร้อนของดวงอาทิตย์ไม่ได้เข้าไปในบ้านโดยตรง และข้างในจะมีผนังกระจกอีกหนึ่งชั้น นอกจากนี้ต้นไม้ทั้งสองชั้นยังให้ร่มเงาและทำให้อุณหภูมิรอบบ้านลดลงสวนลอยอยู่บนชั้นสองให้ความสดชื่นมีชีวิตชีวากับอาคาร รอบ ๆ มีประตูบานเลื่อนขนาดใหญ่ที่จะช่วยให้อากาศสามารถไหลเข้าไปในห้องในชั้นนี้ได้เช่นกัน การออกแบบใช้อิฐวางแพทเทิร์นให้มีช่องว่างทำหน้าที่ช่องลมแบบนี้ ทำให้บ้านยังคงได้รับแสง ลม ในขณะที่ยังมีความเป็นส่วนตัวจากสายตาของผู้ที่ผ่านไปมาบนถนน poolvilla
เมื่อพิจารณาถึงนิสัยของสมาชิกครอบครัวและไลฟ์สไตล์ที่ชอบอยู่ร่วมกัน และมีบรรยากาศที่อบอุ่น สถาปนิกจึงใช้แนวคิดออกแบบเลย์เอาท์แบบ open plan ลดการใช้ผนังให้น้อยที่สุดรวมหลายฟังก์ชันใช้ชีวิต อาทิ ครัว ห้องนั่งเล่น มุมทานอาหาร มาอยู่ด้วยกันในจุดเดียว ช่วยให้ครอบครัวสามารถโต้ตอบกันได้ใกล้ชิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง นอกจากนี้อากาศยังไหลเวียนได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีประตูบานเลื่อนขนาดใหญ่เพื่อให้บ้านรับแสงได้สูงสุดและช่วยให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าช่วงกลางวัน ออกแบบบ้าน