บ้านสวนชั้นเดียว บ้านสวน เป็นหนึ่งนิยามของบ้านที่ไลฟ์สไตล์แบบเรียบง่าย เป็นบ้านหลังเล็กๆ ที่อยู่ในสวน ที่รายล้อมไปด้วยสวนป่า บ่อน้ำ หรือทุ่งนา เป็นบ้านที่ใครวาดฝันไว้หลังบั้นปลายชีวิต ด้วยการใช้ชีวิตเลี้ยงสัตว์ ปลูกต้นไม้ ไม่ยุ่งเกี่ยวสร้างความเดือดร้อนให้ใคร ซึ่งบ้านในแนวนี้นอกจากที่อยู่สุขสบาย เรียบง่าย แถมยังใช้ต้นทุนที่ต่ำในการก่อสร้างอีกด้วย
สำหรับบ้านสวนนั้นสามารถสร้างได้หลากหลายรูปแบบหลากหลายสไตล์ด้วยกัน แต่ที่สำคัญนั้นอยู่ที่มีต้นไม้รายล้อมอยู่รอบบ้าน เป็นบ้านที่มีความชุ่มชื่นเย็นสบาย ซึ่งส่วนมากนั้นนิยมสร้างเป็นบ้านชั้นเดียว หรือถ้าหากเป็นผู้ที่มีทุนทรัพย์หน่อยก็จะสร้างเป็นบ้านสองชั้นถาวร
บ้านสวนชั้นเดียว
โดยบ้านสวนนี้ส่วนมากจะนิยมสร้างแบบชั้นลอย หรือมีใต้ถุนบ้าน เป็นเพราะหลายสาเหตุที่จำเป็นต้องทำแบบนี้ ซึ่งก็ส่งผลดีและผลเสียแตกต่างกันออกไป บ้านสวน สามารถสร้างได้ทั้งไม่และปูน ไม่จำกัดวิธีและเทคนิคการสร้าง บ้างก็เป็นบ้านที่มีความมิดชิด อยู่อย่างปลอดภัย บ้างก็เปิดโล่งเพื่อรับบรรยากาศของธรรมชาติ
บ้านสวนเป็นบ้านที่อยู่ง่าย หลับสบาย เพราะเวลานอนอาจจะได้ยินเสียงสัตว์เล็กใหญ่ในป่าหรือทุ่งนา เช่น จิ้งหรีด นก เขียด หรือจะเป็นไก่ที่เลี้ยงไว้ขันปลุกยามรุ่งเช้า เพื่อลุกขึ้นมารับอากาศและแสงบริสุทธิของดวงอาทิตย์ในยามเช้าๆ คิดๆ ไปแล้วมันก็ช่างมีความสุขเหลือเกิน
แบบบ้านสวนสไตล์โมเดิร์น ริมสระน้ำ
หากใครที่เคยแวะไปเที่ยวที่อัมพวา จ.สมุทรสงคราม จะต้องคิดถึงวิถีชีวิตริมน้ำ ยามเช้าตรู่มีพระพายเรือมารับบาตร ตลาดน้ำที่เต็มไปด้วยอาหารและขนมน่าทาน หิ่งห้อยที่เปล่งประกายยามค่ำ ซึ่งต้องแจวเรือเข้าไปชม ความเป็นอยู่สวยงามเรียบง่ายแบบนี้ แม้ไม่สะดวกสบายนัก ก็ยังคงติดตรึงในความทรงจำ เจ้าของบ้านหลังนี้ก็เช่นกัน
พื้นเพของครอบครัวเดิมทีก็ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นี่ คุณแม่ประกอบอาชีพนำมะพร้าวจากสวนไปขายที่ตลาดน้ำ จนเจ้าของเติบโตและมีกำลังมากพอที่จะดูแลครอบครัวได้ เธอจึงต้องการให้แม่เกษียณจากงานใช้เวลาพักผ่อนและอยู่กับหลาน โดยตั้งใจว่าจะใช้บ้านหลังนี้เป็นสถานที่รวมตัวสร้างพื้นที่ความทรงจำใหม่ ๆ ไปด้วยกัน
ด้วยความตั้งใจของเจ้าของและสถาปนิกที่เข้าใจถึงความผูกพันกับสวนมะพร้าว อันเป็นที่จดจำของครอบครัว จึงออกแบบสถาปัตยกรรมที่กลมกลืนกับบริบทและคงความเป็นสวนมะพร้าวไว้ให้มากที่สุด ทั้งต้นไม้ คูน้ำ บ้านถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ที่แยกออกจากกัน
แต่ละโซนทำหน้าที่แตกต่างหลากหลาย แล้วนำมาเชื่อมต่อกันผ่านระเบียง ส่วนจุดที่เป็นไฮไลท์สำคัญอยู่ที่การทำตัวบ้านยกสูงลอยเหนือพื้นแบบมีใต้ถุน เฉกเช่นวิธีเรือนไทยริมน้ำสมัยก่อนที่มีประโยชน์ทั้งหนีน้ำและเปิดรับลมเย็น ๆ เข้าสู่ทุกพื้นที่
ทีมงานเลือกใช้วัสดุเพื่อสื่อถึงแนวคิดบ้านทรงไทย ที่ประยุกต์ให้ดูความทันสมัยและร่วมสมัย ประกอบด้วย 3 วัสดุ คือ คอนกรีต ไม้ และเหล็ก คอนกรีตแสดงถึงความเป็นปัจจุบัน ซึ่งถูกนำไปใช้กับมวลอาคารในแบบเรียบง่าย นอกจากนี้ยังใช้ไม้มะพร้าวจากสวนเป็นต้นแบบในการหล่อผนังคอนกรีตอีกด้วย เมื่อนำไม้ที่ขึ้นรูปเป็นแม่แบบออกก็จะได้ผนังที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์และมีกลิ่นหอม สำหรับไม้เก่ามีความทรงจำของบ้านเดิม
แสดงถึงอดีตและบรรยากาศความเป็นเรือนไทย ถูกนำใช้เป็นผนัง หน้าต่าง ประตู และเครื่องเรือน เหล็กแสดงถึงความร่วมสมัย ใช้เป็นโครงสร้างและส่วนหน้าของห้องชั้นบนที่อยู่เหนือสวนเพื่อสร้างความแตกต่าง อีกทั้งยังใช้เป็นโครงสร้างของผนังไม้เพื่อให้แข็งแรงและดูแลรักษาง่าย ระดับความสูงใต้อาคารมากพอที่จะวางชุดโต๊ะ ม้านั่งคอนกรีตสำหรับนั่งเล่นช่วงกลางวัน จุดนี้โรยด้วยกรวดจัดสวนเขียวๆ เมื่อลมพาดผ่านก็สดชื่นเย็นสบาย บ้านเดี่ยว
บันไดหลักของบ้านเป็นบันไดภายนอกคล้ายเรือนไทย แต่จะมีกำแพงสูงกั้นไม่ให้ฝนสาดลงบันไดเหลือเพียงละอองน้ำที่ช่วยเสริมบรรยากาศของบ้านสวน ตลอดแนวผนังมีช่องเล็ก ๆ ที่ให้ทัศนียภาพของสวนและทำหน้าที่เป็นชั้นวางของสำหรับเจ้าของเพื่อวางต้นบอนไซ
บันไดมีโครงสร้างติดผนังทำให้เกิดช่องว่างระหว่างขั้นเพื่อไม่ให้บังลม ปลายทางของบันไดคือระเบียงขนาดใหญ่ที่มองเห็นสวนมะพร้าว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวของครอบครัว ระเบียงนี้สามารถใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจและพื้นที่สังสรรค์ของครอบครัวได้แบบสบายๆ
บ้านมีสองชั้นพร้อมพื้นที่ใต้หลังคา ที่ชั้น 1 ครัวจะอยู่ติดกับโถงทางเข้า ครัวนี้ออกแบบให้มีบรรยากาศเหมือนร้านกาแฟเล็กๆ มีพื้นที่ให้คุณยายขายผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวที่เคยขายที่ตลาดน้ำและพื้นที่ให้พี่สาวเจ้าของร้านสอนทำขนมไทยโบราณ
ถัดจากห้องครัวเป็นทางเดินที่ล้อมรอบด้วยสวน ทางเดินนี้นำไปสู่พื้นที่ระเบียงหน้าห้องนอนใหญ่ของคุณยาย ระเบียงสามารถใช้เป็นพื้นที่นั่งเล่นที่ผู้ใช้สามารถเพลิดเพลินกับการออกไปข้างนอกในระหว่างวัน ในขณะที่สวนและคูน้ำที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้ช่วยสร้างบรรยากาศและความเป็นส่วนตัว
บนชั้นสองมีห้องนอน 3 ห้องพร้อมห้องน้ำรวม 1 ห้อง ห้องแรกเป็นห้องนอนของเจ้าของ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากบันไดหลัก ห้องที่สองเป็นห้องนอนสำหรับเด็ก ๆ ที่ออกแบบให้มีพื้นที่ใต้หลังคาให้ปีนขึ้นไปชมวิวตอนกลางวันหรือดูดาวในตอนกลางคืนได้
ห้องที่สามเป็นห้องสำหรับแขก ในส่วนห้องน้ำออกแบบให้เป็นพื้นที่กึ่งกลางแจ้ง มีอ่างคอนกรีตด้านนอกที่ใช้ได้ทั้งจากห้องน้ำและจากพื้นที่สังสรรค์ แต่โซนฝักบัวและอ่างอาบน้ำที่ต้องการความเป็นส่วนตัวอยู่ภายใน
ห้องนอนจะออกแบบระบบหน้าต่าง 2 ชั้น ชั้นแรกเป็นบานกระจกบานเลื่อนให้ผู้ใช้ออกไประเบียงหรือรับวิวสวนจากภายในได้ ชั้นที่สองเป็นฟาซาดโลหะเจาะรูแบบเปิดได้ทำหน้าที่ป้องกันแสงแดดโดยตรง ในช่วงกลางคืนแสงไฟภายในจะส่องผ่านโลหะเจาะรูนี้ ทำให้เกิดเอฟเฟกต์แสงระยิบระยับที่สื่อถึงแสงของหิ่งห้อย ช่วยเพิ่มความรู้สึกของอำเภออัมพวาในรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
แบบที่ 2 บ้านสวนมีใต้ถุน พื้นที่ชีวิตยกสูงล้อมสวน
ยังจำประสบการณ์ในวัยเด็กกันได้บ้างไหมครับ สำหรับคนที่บ้านอยู่แถบ ชนบทอาจจะพอระลึกถึง อาคารที่เคยอยู่หรือเคยผ่านเป็น บ้านใต้ถุนสูง สองชั้นผนังทำจากไม้ตีเกล็ด เวลาที่อากาศร้อน ๆ ก็ออกมานั่งรับลมเย็น ๆ นอกบ้านพร้อมดื่มน้ำหวานกับขนมแสนอร่อย
ซึ่งภาพแบบที่ว่าน่าจะหายไปเยอะมากแล้วในยุคนี้ เพราะรูปลักษณ์ของบ้านมีใต้ถุนดูเชยไปเสียแล้วเมื่อเทียบกับบ้านสไตล์โมเดิร์นใหม่ ๆ ทั้ง ๆ ที่บ้านใต้ถุนสูงเหมาะกับสภาพอากาศทั้งร้อนและชื้นอย่างบ้านเรามาก สำหรับคนที่ชอบบ้านแบบนี้แต่ติดที่อยากให้ดูโมเดิร์นขึ้น
Garden House เป็นบ้านสองชั้นในประเทศ COSTA RICA หน้าตาดูไม่หวือหวา แต่ในความเรียบนี้กลับซ่อนฟังก์ชันของความความยั่งยืนเอาไว้ หากมองโดยรอบจะเห็นว่าพื้นที่แวดล้อมด้วยต้นไม้ใหญ่ เจ้าของจึงต้องการที่จะสร้าง “ฟาร์ม” ส่วนตัวเล็กๆ ที่ดูสดชื่นเป็นธรรมชาติ
โดยได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดที่ว่าสถาปัตยกรรมไม่ควรเป็นแค่ผนัง หน้าต่าง และหลังคา แต่ Garden House ควรเป็นโครงสร้างแบบอินเทอร์แอคทีฟที่มีไฟฟ้าและน้ำ มีความยั่งยืนทางอาหารที่ปลูกไว้ทานเอง ในขณะเดียวกันก็สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับไซต์และบริบทในทันที
จากบริเวณรั้วหน้าบ้าน จะต้อนรับการมาถึงด้วยลานกรวดให้รถวิ่งเข้ามาง่าย ๆ สองข้างทางเต็มไปด้วยต้นไม้จำพวกเฟิร์น ไม้คลุมดิน และต้นไม้นานาพันธุ์ถูกปลูกไว้ รวมทั้งบริเวณชั้นสองของบ้านที่เห็นมาแต่ไกล ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างบรรยากาศที่สดชื่นแล้ว ต้นไม้เหล่านี้ยังช่วยปกป้องบ้านจากแสงแดด ช่วยลดทอนความร้อน ภายในบ้านจึงเย็นได้ตลอดวัน
หาดทามารินโดตั้งอยู่บนชายฝั่งแปซิฟิกเหนือของคอสตาริกา ซึ่งประสบปัญหาอุณหภูมิที่สูงขึ้นมากและเกิดภัยธรรมชาติอื่น ๆ ทั้งน้ำท่วมและภัยแล้ง ผู้คนที่อาศัยอยู่แถบนี้จึงต้องวางแผนในการสร้างบ้านและใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ในบ้านนี้มีการวางระบบบำบัดน้ำเสีย การเก็บกักน้ำ การทำปุ๋ยหมัก
การทำน้ำร้อนโดยพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ทำให้บ้านมีความยั่งยืน นอกจากนี้ตัวบ้านยังก่อสร้างจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เลือกการยกตัวบ้านขึ้นสูงด้วยการวางบนฐานเหล็กที่กางแขนเป็นรูปตัว V เพื่อหนีน้ำและเพิ่มพื้นที่รับลมใต้อาคารมากขึ้น ในขณะที่รูปลักษณ์ดูโมเดิร์นขึ้น
ในชั้นบนออกแบบโปร่งเบาสบายด้วยหน้าต่าง และประตูกระจกบานใหญ่ที่เก็บเข้าด้านข้างได้ ภายในจึงเปิดโล่งรับลมสบาย ๆ ได้เต็มพิกัด เมื่อไม่มีผนังก็เชื่อมต่อเข้ากับระเบียงตลอดแนว ฟังก์ชันบ้านมีความยืดหยุ่นลื่นไหลและทันสมัย แต่กลับรู้สึกถึงบรรยากาศบ้านในชนบทเก่า ๆ ของไทยที่นิยมทำชานเรือนยื่นออกมานั่งเล่นพักผ่อนหน้าบ้าน
ภายในบ้านออกแบบในลักษณะ open plan ไม่มีผนังแบ่งกั้นฟังก์ชันหลัก ๆ ของบ้าน อย่างเช่น มุมนั่งเล่น มุมทำงาน ครัว โต๊ะทานอาหาร แม้กระทั่งห้องนอน ภาพรวมจึงห้องโถงใหญ่ที่บรรจุทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับใช้ชีวิตเข้าไปในที่เดียว
ช่องแสงตามส่วนต่าง ๆ ของบ้านเป็นข้อยืนยันว่า บ้านเขตร้อนไม่จำเป็นต้องปิดบ้านเพื่อจำกัดการเข้ามาของแสง เพียงแต่ต้องใส่เอาไว้ในจังหวะที่เหมาะสม อย่างเช่น ในห้องน้ำ ทิศเหนือ ทิศตะวันออกที่แสงแดดไม่รุนแรง
ในส่วนที่บ้านได้รับแดดจัดในช่วงกลางวัน แต่ไม่อยากปิดบ้านทึบเพราะยังต้องรับลมเข้าไประบายอากาศ ก็เลี่ยงมาใช้การจัดสวนแนวตั้งบนแนวแผงกันตกบนระเบียง นอกจากจะช่วยกรองแสงแล้วใบไม้ที่ค่อนข้างทึบจะทำหน้าที่กรองฝุ่นพร้อมพรางสายตา เติมความเป็นส่วนตัวให้ห้องนอนได้ด้วย บ้านสวน
ใต้ถุนบ้าน เป็นพื้นที่ใช้งานกึ่งภายในและภายนอก เนื่องจากมีความโปร่งรอบด้านให้ลมพัดผ่าน และก็มีความร่มจากพื้นเพดานของชั้นบน จึงเหมาะกับภูมิอากาศแบบร้อนชื้นของไทย เพราะช่องว่างด้านล่างทำให้ระบายอากาศลดชื้นและหนีน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากได้ดี พื้นที่ว่างใต้ถุนบ้านยังใช้สอยเอนกประสงค์ได้ด้วย ส่วนความสูงของพื้นบ้านนั้นสูงประมาณ 1.70 -2.50 เมตร แนะนำให้ปรึกษานักออกแบบให้สามารถดูแลง่ายและเข้าไปใช้งานได้จริง