แบบบ้านชั้นเดียว ญี่ปุ่น

แบบบ้านชั้นเดียว ญี่ปุ่น แบบบ้านชั้นเดียวขนาดเล็ก อยู่อย่างเรียบง่าย สบายๆสำหรับ แบบบ้านชั้นเดียว หลังเล็กๆ จัดได้ว่า เป็นแบบบ้านที่ถูกขอมาเป็นจำนวนมาก พยามที่จะหาแบบบ้านในรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างไปจากบ้านทั่วๆไป เพราะหากรูปแบบลักษณะทั่วไป ก็คงดูไม่แตกต่างจากบ้านที่เราเห็นกันในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว
ทางเว็บไซต์ นำแบบบ้านพร้อมไอเดียการตกแต่งภายในมาเผยแพร่ จากสถาปนิกและมัณฑนากรทั่วโลก เพื่อมีจุดมุ่งหมายให้ทุกๆ ท่าน ได้มีไอเดียแปลกใหม่ ในการสร้างบ้าน นำมาประยุกต์สร้างสรรค์สถาปัยกรรมไทย ให้มีการพัฒนามากยิ่งขึ้น
บ้านขนาดเล็ก หลังคาปั้นหยา ประยุกต์ได้หลายๆ อย่าง

เอาหละครับ สำหรับ แบบบ้านชั้นเดียว หลังนี้ ออกแบบโดย สถาปนิกชาวญี่ปุ่น เป็นการออกแบบบ้าน เพื่อไว้สำหรับเป็นที่พักอาศัย และ ประยุกต์ใช้เป็น Home Office ได้ด้วย ลักษณะหลังคาทรงปั้นหยา ทำให้บ้านดูสมดุลทุก ๆ ด้านหน้าบ้าน ใช้ประตูกระจกบานใหญ่ ออกแบบมาเพื่อต้อนรับแขกผู้มาเยือน อาจประยุกต์เป็นร้านอาหาร
ร้านกาแฟขนาดเล็ก ก็สามารถทำได้เช่นกัน มุมหลังบ้าน กั้นด้วยระแนงบังแดด บังสายตา เนื่องจากเป็นมุมของห้องน้ำ มีห้องนอนเพียงห้องเดียว ก็เพียงพอสำหรับการอยู่อาศัย 2-3 คน หรือเป็นครอบครัวขนาดเล็ก ที่เพิ่งริเริ่มธุรกิจส่วนตัว การตกแต่งเรียบง่าย เน้นโทนสีขาว ซึ่งจะช่วยให้บ้านหลังเล็ก ๆ ดูกว้างขึ้นได้
สีขาวและสีน้ำตาลอ่อน ๆ ที่สบายตา ทำให้ภายในบ้านเหมาะกับช่วงเวลาการพักผ่อนมากเลยทีเดียว การเลือกใช้โทนสีน้อย ๆ ลดความฉูดฉาดและสิ่งรบกวน แม้จะดูเรียบง่ายไปสักนิด แต่ก็ให้อารมณ์ที่นิ่งสงบ ซึ่งนับเป็นอารมณ์ที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันเมื่อเปิดประตูบ้านเข้ามา จะเจอกับพื้นที่ต่างระดับในแบบฉบับของญี่ปุ่น นั่งถอดรองเท้า ใส่รองเท้าได้สะดวก
บ้านลอยตัว ยกพื้นสูง 1 เมตร ระบายอากาศ ระบายความชื้น

ปัญหาของการสร้างบ้าน ไม่มีบทบัญญัติที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นที่และสิ่งแวดล้อมเดิมเป็นสำคัญ หน้าที่ของสถาปนิกนอกจากจะช่วยสร้างสรรค์บ้านให้มีความสวยงามแล้ว จึงต้องช่วยแก้โจทย์ปัญหาไม่ให้ส่งผลกระทบการอยู่อาศัยอีกด้วย เพื่อให้เจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในบ้านหลังใหม่ และสามารถใช้สอยทุกฟังก์ชันที่ออกแบบมาได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด
อาคารชั้นเดียวที่มีดีไซน์ภายนอกสมัยใหม่ มองจากด้านหน้าหรือด้านข้างจะเห็นได้ว่า มีการยกพื้นสูงเหมือนลอยตัวอยู่ในอากาศ ซึ่งลักษณะการออกแบบทำให้บ้านทรงกล่องสี่เหลี่ยมดูเบาสบายมากกว่าการตั้งอาคารอยู่บนพื้นมากเลยทีเดียว เจ้าของบ้านคือ หญิงสาววัยเกษียณอายุ 65 ปี ที่อยู่อาศัยกับคุณแม่อายุเกือบ 90 ปี บ่งบอกได้ว่าแม้อายุจะเยอะแต่หัวใจและความคิดยังสมัยใหม่อยู่เสมอ

สถานที่สร้างบ้านอยู่ในหมู่บ้านภูเขาลึกในเมืองโทกาเนะ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น รอบบ้านโอบล้อมไปด้วยธรรมชาติที่เงียบสงบ แต่มีข้อเสียตรงการระบายน้ำที่ไม่สะดวกเท่าที่ควร อีกทั้งในแต่ฤดูกาลอุณหภูมิค่อนข้างแตกต่างกันมากเลยทีเดียว จึงเป็นที่มาของการออกแบบยกพื้นสูง เพราะไม่ต้องการให้พื้นอยู่ติดกับพื้นดินที่มีความชื้นมากเกินไปนั่นเอง
บ้านทรงสี่เหลี่ยม หลังคาทรงปั้นหยา แต่หากยืนมองจากด้านหน้าคงคิดว่าเป็นหลังคาแบนเรียบแน่ ๆ ใช้เมทัลชีทสีขาวสว่างมุงเพื่อเติมความโมเดิร์น อีกทั้งยังช่วยลดความการรั่วซึมในช่วงฤดูฝนด้วย บันไดทางขึ้นบ้านประมาณ 4- 5 ขั้น ไม่เหนื่อยเกินไปสำหรับผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์
คุมธีมทั้งภายนอกและภายในบ้านด้วยสีขาวทั้งหมด ต้องการให้บ้านมีความสว่างมากที่สุด แซมด้วยการใช้วัสดุไม้สีน้ำตาลอ่อนมาแต่งเติม เพื่อสร้างบรรยากาศการพักผ่อนให้มีความอบอุ่นมากยิ่งขึ้น
กระจกนับเป็นหนึ่งในวัสดุหลักของบ้านหลังนี้เลยก็ว่าได้ ประตู ผนังกระจก ช่วยรับแสงธรรมชาติทั้งกลางวันและกลางคืนกระจายสู่พื้นที่ภายในบ้าน และด้วยความมั่นใจในเรื่องความปลอดภัยของชุมชน การติดตั้งกระจกจะช่วยให้บ้านสร้างใหม่แลดูเป็นมิตรกับรอบด้านด้วย
ห้องต่าง ๆ เน้นความโปร่งโล่ง มีพื้นที่ว่างเยอะ ๆ ไว้สำหรับปรับประยุกต์ให้เข้ากับกิจกรรมต่าง ๆ มีเฟอร์นิเจอร์เท่าที่จำเป็น จะได้ไม่ต้องดูแลรักษามาก ฝ้าเพดานบ้านมีการดีไซน์ให้สอดคล้องกับรูปทรงปั้นหยาเหมือนภายนอก แม้วัสดุปิดฝ้าจะเป็นสีขาวก็ยังดูมีมิติอย่างเด่นชัดเมื่อแหงนหน้ามอง

พื้นแต่ละห้องราบเรียบเสมอกัน แบ่งแยกสัดส่วนด้วยประตูกระจกกรอบไม้บานเลื่อน นอกจากช่วยจำแนกการใช้งานของแต่ละห้องแล้ว ยังช่วยกั้นแอร์ไม่ให้รั่วไหลไปยังห้องอื่น ๆ เป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในช่วงฤดูร้อนไม่ให้สิ้นเปลืองจนเกินไป
บ้านที่ทำการยกพื้นสูงโดยไม่ได้ปิดกั้นอย่างมิดชิด อาจมีความกังวลว่าจะมีสัตว์เลื้อยคลายมาอาศัยอยู่ใต้บ้านของตัวเอง วิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปอยู่ได้ คือ การโรยหินกรวดไว้ใต้บ้านที่ทำการยกพื้นสูง อีกทั้งยังต้องหมั่นดูแลรอบบ้านให้สะอาดเกลี้ยงเกลาอยู่เสมอด้วย เพราะทันทีที่รอบบ้านรก จะเป็นที่หมายตาให้สัตว์ต่าง ๆ อยากเข้ามาสำรวจและใช้เป็นแหล่งพักพิง
แบบบ้าน สไตล์ญี่ปุ่น สถาปัตยกรรมประยุกต์ใหม่ ให้โมเดิร์น

กระแสประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน กำลังได้รับความนิยม ซึ่งก็อาจมีข้อดี ข้อเสีย ที่แตกต่างกันไป แต่ทั้งนี้ สิ่งที่จะเข้ามาแน่นอนก็คือวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนเอกลักษณ์ต่างๆ เมื่อมีการผสมผสานระหว่างชนชาติ เชื่อได้ว่า แม้แต่สถาปัตยกรรมการก่อสร้าง ก็ย่อมมีทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน
ขอเกาะติดกระแส ด้วยการนำเอกลักษณ์บ้านสไตล์ญี่ปุ่นมาให้ชมกัน เป็นที่พักสองชั้นขนาดเล็กๆ ที่ยังคงรูปแบบของชาวญี่ปุ่นโบราณเอาไว้ได้ดี นำมาประยุกต์ใช้กับลักษณะการสร้างบ้านในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะหลังคาบ้าน แหงนโค้งงอน ดุจดั่งสำนักซามูไร ยุค 2012 เนื่องด้วยวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ เหมาะกับการสร้างบ้านสไตล์โมเดิร์น จึงกลายเป็นบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ประยุกต์เข้ากับร่วมสมัยได้เป็นอย่างดี read more

รูปแบบโครงสร้างดังกล่าวนี้ หลายๆ ท่านอาจคิดในใจว่าเหมือนวัด ซึ่งคิดได้ถูกต้องแล้ว เพราะบ้านหลังนี้ สร้างไว้ภายในวัด เป็นที่พักของพระสงฆ์ในประเทศญี่ปุ่น ด้วยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ร่วมกันบริจาค ใช้พื้นที่ของอาคาร 243.32 ตารางเมตร และพื้นที่บริเวณโดยรอบทั้งหมด 862.36 ตารางเมตร ถูกสร้างไว้ในป่าบนภูเขาอันสงบสุข ภาพตัวอย่างนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนก่อสร้าง ไม่ได้ตกแต่งภายในใดๆ อาจนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับวัดจีนในประเทศไทยได้ดี