จัดสวนญี่ปุ่นในบ้าน

จัดสวนญี่ปุ่นในบ้าน

จัดสวนญี่ปุ่นในบ้าน ยกสวน Zen สไตล์ญี่ปุ่น มาไว้ในบ้านไทย

จัดสวนญี่ปุ่นในบ้าน

จัดสวนญี่ปุ่นในบ้าน ยกสวน Zen สไตล์ญี่ปุ่น มาไว้ในบ้านไทย พี่เพิ่งเริ่มจัดสวนได้แค่ปีเดียว” คำบอกเล่านี้ทำให้ทีมงานบ้านไอเดียถึงกับตาโต เพราะได้ชมผลงานการจัดสวนของคุณเปรมฤดี ชีวะโกเศรษฐ หรือ “พี่เปรม”  หนึ่งในสมาชิกบ้านไอเดียแฟมิลี่แล้วแทบไม่อยากเชื่อเลยว่าจะใช้เวลาศึกษาและทดลองสั้น ๆ พูลวิลล่าภูเก็ตด้วยภาพสวนญี่ปุ่นตรงหน้าที่ให้ความรู้สึกอิ่มเอม สงบ ปนชุ่มฉ่ำ พอดีกับมุมมองทางสายตาและดีงามต่อจิตใจจนไม่ต้องเติมหรือลดทอนอะไร ทำให้อยากทราบถึงที่มาที่ไปและแนวคิดในการจัดตกแต่งสวน ซึ่งพี่เปรมก็ยินดีเล่าสู่กันฟังอย่างเป็นกันเอง สำหรับใครที่ชื่นชอบสวนญี่ปุ่นและอยากทดลองจัดเอาไว้ชมในบ้าน รับรองว่าไม่พลาดข้อมูลดี ๆ ตั้งแต่การจัดวางองค์ประกอบ พันธุ์ต้นไม้ ตลอดจนวิธีดูแลรักษาค่ะจัดสวนโดย : คุณเปรมฤดี ชีวะโกเศรษฐ

สวนแรก เริ่มที่บ้าน 

ก่อนที่จะเริ่มรับจัดสวน พี่เปรมเล่าให้ฟังว่าเรียนจบด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเคยทำมาแล้วหลายธุรกิจ แต่จุดหักเหอยู่ที่ช่วงปี 2559 เริ่มทดลองจัดสวนที่บ้านตัวเองบ้านเดี่ยว

จัดสวนญี่ปุ่นในบ้าน

“พี่ชอบต้นไม้ดอกไม้เป็นพื้นฐานอยู่แล้วค่ะ แต่ไม่ค่อยได้ปลูกเนื่องจากอาศัยอยู่ตึกแถวไม่มีพื้นที่ปลูกต้นไม้ จนปี 59 พี่ย้ายมาพักอยู่บ้านเลยลองจัดสวน ทำม่านน้ำและบ่อปลา เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดสวนครั้งแรกเลยค่ะ พอทำเสร็จแล้วก็ลองนำภาพไปลงในกลุ่มจัดสวนสวย ผลตอบรับดีจนเริ่มมั่นใจ เลยศึกษาการจัดสวนอย่างจริงจัง ทั้งเข้าอบรมและติดตามจากเว็บไซต์ต่างประเทศ ว่างๆ ก็พินิจพิเคราะห์ว่าอะไรเป็นจุดเด่นของสวนนั้น ๆ ซึ่งช่วยให้เราเกิดไอเดียการจัดสวนมากทีเดียว”

สง่างาม สงบเย็น ในสวนญี่ปุ่น 

ผลงานตกแต่งสวนในหมู่บ้านการ์เดนท์วิลเลจ รังสิต คลอง 3 ปทุมธานี ทุกย่างก้าวจะได้เห็นการร้อยเรียงความรักและเคารพต่อผืนดิน ก้อนหิน สายน้ำ และพืชพรรณ เข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นเอกลักษณ์ องค์ประกอบสวนวางแผนมาอย่างดีทั้งต้นไม้ วัสดุ และภูมิทัศน์ สิ่งที่ได้เห็นจึงเป็นความสง่างาม สงบ  เหมือนจำลองโลกที่อุดมสมบูรณ์เล็ก ๆ เข้ามาเก็บไว้ในบ้าน พี่เปรมเล่าถึงแนวคิดที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังสวนนี้ว่า

“แบบสวนที่คิดไว้คือ เป็นภาพสวนของเมืองเกียวโตหรือชานเมืองของโตเกียวก็ได้ค่ะ โดยใช้วัสดุตกแต่งสวน (props) ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของญี่ปุ่น เช่น บ้านไม้ไผ่ สะพานไม้ บ้านกระดาษญี่ปุ่น กระบอกไม้ไผ่น้ำริน โคมไฟหิน และอ่างน้ำหิน”สเน่ห์ของบ้านสไตล์ญี่ปุ่นคือการสร้างบ้านให้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ รอบๆบ้านจะต้องมีต้นไม้ สวนดอกไม้ พืชผักสวนครัว ก้อนหิน น้ำตก หรือธารน้ำ เป็นต้น เอกลักษณ์ของการดีไซน์บ้านแบบชาวญี่ปุ่นคือ การใช้ไม้ระแนงซีกเล็กๆเรียงกันเป็นแผง ใช้ตกแต่งส่วนต่างๆของตัวบ้าน บ้านแบบญี่ปุ่นต้องมีพื้นยกสูงประมาณ 30~60cm แต่จะไม่สูงเท่ากับบ้านแบบไทยพื้นยกที่ต้องขึ้นบันได สำหรับการยกพื้นของบ้านญี่ปุ่นนี้ ช่องว่างใต้พื้น (En-noshita) ของบ้านมีหน้าที่ระบายความชื้นเพราะว่าภูมิอากาศของประเทศญี่ปุ่นมีความชื้นมาก ซึ่งจุดนี้ค่อนข้างจะคล้ายๆกับหลักของการสร้างบ้านในไทยเหมือนกัน ออกแบบบ้าน

เรื่องราวของสวนเริ่มจากจาก ประตูประดับ บ่งบอกขอบเขตของสวน วัสดุที่ใช้เป็นโครงเหล็กทาสีดำขนาบด้วยไม้ใผ่ ลักษณะโปร่งสามารถมองทะลุได้ ลวดลายเหล็กเลียนแบบงานสานขัดเป็นลวดลายต่าง ๆ มีซุ้มประตูคล้าย ๆ ทางเข้าบ้านญี่ปุ่นโบราณเพิ่มอารมณ์ความเป็นสวนญี่ปุ่นให้เข้มข้นขึ้นถัดจากทางเดินเข้ามาผู้มาเยือนรู้สึกผ่อนคลายไปกับลานกรวดกว้างที่เป็นตัวแทนสายน้ำ แนวไม้ไผ่แทนผนังบ้าน สบายตากับสีเขียวของเนินมอสเป็นเหมือนเกาะอยู่ตามริมกรอบสวน วางสะพานไม้โค้งเล็ก ๆ เติมความจุดสนใจทางสายตาอยู่ตรงกลาง สร้างมุมมองที่อบอุ่นน่ารักพูลวิลล่าภูเก็ต

จัดสวนญี่ปุ่นในบ้าน

ในส่วนของต้นไม้ที่จัดเป็นหย่อม ๆ นั้น พี่เปรมอธิบายวิธีการเลือกว่า “เลือกใช้ต้นไม้ที่มีใบเรียว ๆ หรือเป็นต้นไม้ที่สื่อความรู้สึกเป็นเอเชีย เช่น ต้นไผ่มังกรทอง ต้นไผ่หยก ไผ่เลี้ยง ต้นพุดกุหลาบ ที่ให้กิ่งก้านบอบบาง ต้นเศรษฐีไซ่ง่อนเขียว หนวดปลาดุกญี่ปุ่น ชาฮกเกี้ยน ต้นเข็มพิกุล ”พูลวิลล่าภูเก็ต

ต้นไม้ส่วนใหญ่จะใช้ไม้ใบเขียวตลอดทั้งปีที่มีส่วนสูง ทรงใบ และทรุงพุ่มต่าง ๆ กัน ไปจนถึงไม้คลุมดิน อย่างเช่น เฟิน มอส เมื่อจัดแล้วจะทำให้เห็นมิติจากความต่างระดับ มีไม้ดอกแทรกแซมบ้างเพื่อความสดใสแต่ไม่มาก เพราะจะดูแลรักษายากขึ้น

ตะเกียงหิน ไผ่รินน้ำ เติมชีวิต เพิ่มชีวา

มุมสวนน้ำเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในสวนญี่ปุ่น ที่ต้องมาคู่กับตะเกียงหินที่ให้แสงสว่างในยามค่ำคืน ฉากหลังปลูกไม้ใบเขียวให้ช่วยลดทอนสัมผัสแข็งกระด้างของหิน เสียงของสายน้ำที่ผ่านกระบอกไม้ไผ่น้ำรินลงมากระทบอ่างหิน สร้างความมีชีวิตชีวาให้กับสวน ในขณะเดียวกันก็ยังช่วยสร้างสมาธิและความรู้สึกสงบเย็นสวนญี่ปุ่นมีข้อดี คือ สวนคงอยู่ในสภาพเดิมได้นาน ดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องตัดหญ้าบ่อย ๆ อาจจะต้องตัดเล็มไม้ไผ่บ้างเมื่อกิ่งก้านสูงขึ้น สิ่งที่ต้องทำเป็นประจำมีแค่ให้น้ำต้นไม้ทุกวัน โดยใช้สปริงเกอร์ระบบตั้งเวลาหรือมือเปิดปิดวันละ 1-2 ครั้งเท่านั้นแบบบ้านสวนรีสอร์ท

พืชคลุมดิน อาทิ มอส และต้นไม้เล็ก ๆ ปลูกไว้บริเวณใกล้แนวก้อนหินหรือคลุมใต้ต้นไม้ใหญ่ เพื่อให้ใกล้เคียงกับการเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสร้างความเชื่อมต่อกันกับสวนหย่อมข้างเคียง มอสที่ใช้ตกแต่งทั้งหมดเป็นมอสดินผสมมอสน้ำ ตารางเมตรละ 400-500 บาท สำหรับการดูแลมอสในเขตร้อนแบบนี้ หลายคนกังวลว่าจะรอดหรือไม่ พี่เปรมแนะนำว่า เพียงรดน้ำให้ชุ่มและให้มีเงาต้นไม้ใหญ่คลุมบังแดดให้มอสก็อยู่ได้สบาย

เมื่อเดินผ่านมาอีกโซนของบ้านจะเห็นทางโรยกรวด มีแผ่นหินสำหรับเดินวางเป็นระยะพอดีแต่ละก้าวอยู่ตรงกลาง นำสายตาไปจนสุดทางและหยุดอยู่ที่ฉาก ซึ่งมองดูคล้าย ๆ ประตูกระดาษในบ้านญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า “โชจิ” ซึ่งมีความพิเศษตรง “เงา” ที่ซ่อนอยู่หลังบานประตู

“พี่สมมุติให้สวนนี้ เหมือนเรากำลังเดินอยู่ในหมู่บ้านแถบชนบทของเกียวโต โดยโรยกรวดหินแกลบสีขาวกลางสวนแทนทางเดินที่จะใช้สัญจรไปหาจุดต่าง ๆ ของหมู่บ้าน ในจินตนาการคือหากจะเดินไปบ้านอีกหลังก็ต้องลัดเลาะผ่านสวนหรือป่าเขาลำเนาไพร จึงจัดพื้นที่ทั้ง 2 ฝั่งด้วยต้นไม้ให้ดูเหมือนทิวทัศน์ของป่าสองข้างทาง”