บ้านโมเดิร์นนอร์ดิก

บ้านโมเดิร์นนอร์ดิก

บ้านโมเดิร์นนอร์ดิก

บ้านโมเดิร์นนอร์ดิก

บ้านโมเดิร์นนอร์ดิก บ้านสไตล์นอร์ดิก สเปซพิเศษเพื่อความเป็นส่วนตัวดีไซน์และฟังก์ชันของบ้านนั้นมีความสำคัญก็จริง แต่ก็มีอีกสิ่งหนึ่งที่เจ้าของบ้านไม่ควรมองข้าม นั่นคือ การจัดวางระดับความเป็นส่วนตัวให้กับบ้าน เพื่อให้การอยู่อาศัยตรงกับวิถีชีวิตมากที่สุด บางบ้านจะโชว์ในส่วนที่เปิดเผยได้

บ้านโมเดิร์นสไตล์นอร์ดิก

บ้านโมเดิร์นนอร์ดิก

แต่บางบ้านก็มีมุมความเป็นส่วนตัวสูง ไม่ค่อยอยากโชว์พื้นที่ข้างในก็จะต้องวางแผนว่า หากไม่เปิดจุดนี้มีจุดไหนที่เปิดได้เพื่อไม่ให้บ้านดูอึดอัดและขาดการติดต่อ อย่างเช่นบ้านนี้ หากมองจากภายนอกจะเห็นเพียงเส้นสายบ้านหลังคาจั่วสูงสไตล์นอร์ดิก ไม่ได้ใส่ลูกเล่นอะไรมากมาย แต่เรื่องราวระหว่างการออกแบบทั้งความเป็นส่วนตัว

การใส่ความแตกต่าง อย่างง่าย ๆ เส้นสาย และสี ก็สร้างสเปซนี้ ให้มีความพิเศษ ขึ้นมาได้ เช่นกันบ้านของ ครอบครัวนี้ ตั้งอยู่ระหว่าง ถนนที่พลุกพล่าน และ สวนสาธารณะ ที่ติดกับแม่น้ำไวกาโต ประเทศนิวซีแลนด์ จากหน้าถนน ด้านทิศตะวันออก พื้นที่จะลาดลงไปทางสวนทิศตะวันตก

เจ้าของบ้านที่ค่อนข้างรักความเป็นส่วนตัวจึงออกแบบบ้านให้ดูปิดจากสายตาเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ในลักษณะที่เป็นอาคารหลังคาจั่วสไตล์นอร์ดิก โชว์ความตัด ต่างของสี ผนังอิฐสีขาวในส่วนโรงจอดรถ และ ผนังไม้สีน้ำตาล ในโซนใช้งานประจำวัน ในขณะเดียวกัน ก็เปิดกว้างต่อมุมมองและปฏิสัมพันธ์ กับ เพื่อนบ้านในส่วนอื่นแทนจากสวนสาธารณะ มองเข้ามาที่ ด้านข้างบ้าน จะเผยให้เห็นลักษณะ บ้านหลังคาจั่ว 3 ส่วนที่ต่างสี ต่างความสูง และวัสดุ แต่ เชื่อมต่อกัน เป็นแถวยาว ส่วนที่สะดุดตา ที่สุดอยู่ที่กระจกบานใหญ่ มีกรอบสี่เหลี่ยมเหล็ก เป็นซับวงกบยื่นออกมาให้เส้นสายตาชัดเจนทันสมัย และพื้นที่นั่งเล่น กลางแจ้งที่ มีหลังคาคลุมเปิด พื้นที่ใช้สอย ออกสู่พื้นที่สีเขียวในบ้านให้ต่อเนื่องลื่นไหล ด้านนี้จึงดูเปิดออกมากกว่าอีกด้านแต่ ยังคงรักษาระดับความเป็นส่วนตัวของบ้านเอาไว้ในส่วนที่ต้องการ

ทางเข้าบ้านจะอยูตรงกลางระหว่างโรงรถกับบ้านส่วนหลัง มีกำแพงยื่นยาวหลบสายตาจากเพื่อนบ้านจากประตูทางเข้าจะนำมาสู่บ้านสองชั้น ที่จัดแบบ open plan และรายล้อมด้วยผนังกระจก บ้านจึงเต็มไปด้วยความโปร่งและสว่าง แต่กระจกที่เลือกใช้เป็นแบบติดฟิล์มที่มองทะลุได้ด้านเดียว คนที่อยู่ภายนอกจะมองไม่เห็นภายในบ้าน จึงใช้ชีวิตได้แบบไม่ต้องกังวลสายตา ในส่วนชั้นล่างจะเป็น Public Zone

พื้นที่ใช้งานสาธารณะที่มีความเคลื่อนไหวมากทั้งวัน ประกอบด้วย ห้องนั่งเล่น ครัว โต๊ะทานข้าว ที่วางเฟอร์นิเจอร์เรียงกันไปแบบไม่มีผนังกั้น สามารถเข้าถึงกันได้หมด ส่วนชั้นบนจะจัดวางห้องนอนซึ่งเป็น Private Zone ที่ไม่ต้องการความพลุกพล่าน เหมาะสำหรับพักผ่อนยามค่ำคืนมุมนั่งเล่นที่จัดให้อยู่ในระดับต่ำลงไปเป็นเหมือนหลุมที่อบอุ่น ล้อมรอบด้วยชุดโซฟาสีเขียวกำมะหยี่หนานุ่ม

อีกด้านหนึ่งเป็นม้านั่งไม้บิลท์อินวางเบาะยาวเอาไว้เป็นเบย์วินโดว์ที่ชวนให้มานั่งริมหน้าต่าง วิธีการแยกฟังก์ชันแบบนี้ให้ความเป็นสัดเป็นส่วนโดยที่ไม่ต้องก่อผนังกั้นให้เสียพื้นที่ และยังทำให้บ้านดูน่าสนุกขึ้นด้วยประตูด้านข้างของครัว เป็นบานสไลด์กระจกเปิดออกเชื่อมต่อมายังพื้นที่นั่งเล่นบริเวณเฉลียงไม้มีหลังคาคลุม

ระบบหลังคาเปิดและปิดได้ตามสภาพอากาศ ความต่อเนื่องลื่นไหลระหว่างภายในกับภายนอกนี้ทำให้สมาชิกในบ้านออกมาใช้งานส่วนกลางแจ้งมากขึ้น จากจุดนี้จะเห็นว่ามีวิวที่หันหน้าออกไปที่สวนสาธารณะของเมือง เป็นที่มาของการสร้างพื้นที่เปิดให้บ้านมีปฏิสัมพันธ์กับภายนอกได้เต็มที่

บ้านที่ดีควรมี Zoning ที่ชัดเจน

บ้านโมเดิร์นนอร์ดิก

เริ่มจากการตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า ตรงส่วนใหนที่ต้องการความเคลื่อนไหวมาก เคลื่อนไหวน้อย ต้องการปิดเป็นส่วนตัว หรือเปิดเชื่อมต่อปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ถนน เพื่อนบ้าน  ซึ่งส่วนใหญ่แบ่งลำดับการเข้าถึงไว้ 3 โซน คือ พื้นที่ใช้งานสาธารณะ (Public Zone)

ได้แก่ เฉลียง ระเบียง ชาน คอร์ทยาร์ดนอกตัวบ้าน บริเวณห้องรับแขก  ส่วนต่อมาจะเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ (Semi-public Zone) ที่อาจมีคนเดินผ่านไปมาใช้งานช่วงกลางวันเป็นประจำ อาทิ ห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร รวมถึงห้องนั่งเล่นและระดับสุดท้ายเป็นโซนส่วนตัว (Private Zone) จะค่อนข้างสงบ ไม่พลุกพล่าน บุคคลภายนอกต้องได้รับอนุญาตก่อนเข้าถึง  เช่น ห้องนอน ห้องน้ำชั้นบน เป็นต้น

จุดเด่นของ “บ้านสไตล์นอร์ดิก”

จุดเด่นของ “บ้านสไตล์นอร์ดิก” น่าจะเกิดจากรูปหลังคามุมสูงชัน ทรงสามเหลี่ยม วัสดุ หลังคาที่ดูเรียบ คม เป็นรูปทรงเรขา คณิตชัดเจน ตามด้วยองค์ประกอบที่ ต้องเรียบง่าย พื้นที่ ภายในที่โปร่งและมีโถงสูง ตามพื้นที่ ลาดชัน บางที่มี หน้าต่างทรงสูงคอย รับแดด และ จุดเด่นที่ หลายคนคง ประหลาดใจคือ เป็นบ้านที่ ไม่มีชายคา รูปทรงบ้าน สุดน่ารัก จดจำง่ายและน่า ประทับใจแก่ ใครหลาย ๆ คนอย่างแรกเรา ต้องมาทำ ความเข้าใจ ที่มาที่ไปของ รูปแบบเพื่อ หาคำตอบ ถึงความเหมาะสม กับ การเป็นอยู่ และ สภาพภูมิ อากาศ ในเมืองไทย

  • สภาพอากาศที่มีหิมะตกปกคลุมเกือบตลอดทั้งปี
    ทำให้หลังคาจะต้องมีมุมชันและเรียบ เพื่อลดการสะสมของหิมะ และลดการเกาะของน้ำแข็ง พายุหิมะที่ตกหนักและสภาพอากาศที่ไม่มีฝน มีแต่น้ำแข็งเกาะตัวกัน
  • ชายคาของบ้านจึงนับเป็นส่วนที่ไม่จำเป็นที่สุด
    เพราะไม่ต้องกันฝน หรือแดด การมีชายคาทำให้หลังต้องรับน้ำหนักของหิมะเพิ่มและเพิ่มพื้นที่เกาะของแท่งน้ำแข็ง ที่อาจะเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย
  • หน้าต่างหรือช่องแสงทรงสูง หรือหน้าต่างที่ระดับสูง
    เนื่องด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็น แสงแดดเป็นสิ่งที่โหยหา จะไม่แปลกใจที่ “บ้านสไตล์แบบนอร์ดิก” จะมีช่องแสงมากและมีอยู่ที่ระดับสูงเพื่อเปิดรับแสงที่มากกว่าปกติ

เปรียบเทียบ จุดเด่น/ข้อสังเกต : บ้านนอร์ดิก

มาถึงตรงนี้หลายคนคงเริ่มสงสัยว่า ถ้าต้องเปรียบเทียบสภาพอากาศในแถบ “สแกนดิเนเวีย” มันช่างแตกต่างจาก บ้านเราเหลือเกินด้วยสภาพอากาศร้อน ฝน และมีลมแรงในช่วงเปลี่ยนฤดู แบบนี้มันจะเหมาะกับสภาพอากาศบ้านเราจริงหรอ

เปรียบเทียบ จุดเด่น-ข้อสังเกต ของ “บ้านนอร์ดิก

บ้านโมเดิร์นนอร์ดิก

ข้อเด่นใน “บ้านสไตล์นอร์ดิก” ที่ควรมีไว้ เพราะมีความเหมาะสมกับบ้านเราไม่แพ้กัน

  • หลังคาทรงสามเหลี่ยม มุมชัน 40-45 องศา สามารถทำได้ แต่ต้อง เลือกวัสดุที่ดี เหมาะสม หลังคาทรงนี้จะช่วยให้กันความร้อน ได้ดีกว่า แบบทรงโมเดิร์น อยู่แล้ว จึงเหมาะ ที่จะใช้งาน ได้ดีกับบ้านเรา
  • พื้นที่ใต้หลังคา และการยกฝ้าสูง ตามมุมชัน ของหลังคา จริง ๆ แล้วสิ่งนี้จะทำให้ “บ้านสไตล์นอร์ดิก” มีความโปร่งโล่ง แต่ควร จะเว้นระยะ ระหว่างฝ้ากับ หลังคาบ้าง เพื่อเป็นพื้นกักเก็บ ความร้อนที่แผ่น ลงมาจากหลังคา หรืออาจจะมีเพียง บางห้องที่ ยกฝ้าลาดเอียง ตามมุมชันก็ได้
  • ภายในควรเน้นความเป็นธรรมชาติ มินิมอลนิดๆ โทนสีผสมไม้จริงบ้าง จะทำให้มีกลิ่นไอของ “บ้านสไตล์นอร์ดิก” ได้ชัดเจนมากขึ้น
  • ภาพรวมอาคาร เชื่อว่าหลายคนจะประทับใจ ด้วยรูปทรงที่ดูเรียบง่ายแต่มีรายละเอียด
บ้านโมเดิร์นนอร์ดิก

ข้อควรระวังสำหรับดีไซน์ “บ้านสไตล์นอร์ดิก”

  • ต้องออกแบบ มุม องศา ทิศลม และ แดดให้ดี เพื่อลดภาระ ของเครื่องปรับอากาศ เนื่องจาก การไม่มีชายคา และมีพื้นที่ หลังคามาก ทำให้พื้นที่ สัมผัส แดดสูงกว่า บ้านสไตล์อื่นๆ ในไทย
  • หลังคาควรมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อน และ ระบบฝ้า ให้ระบาย ความร้อนได้สะดวก
  • หากเป็นไปได้ ทางเราอยากแนะนำให้มีชายคาบ้าง แบบสั้น ๆ แต่ก็จะช่วยได้มาก สำหรับกันน้ำฝนที่อาจจะรั่วซึมเข้าโดยง่าย บริเวณรอยต่อ ของหลังคา กับผนัง
  • หน้าต่างบานใหญ่ ทรงสูง อาจจะต้อง อาศัยการ วางทิศทาง หลบแดด เป็นสำคัญ เพราะ หากรับแดด ตะวันตกเข้าไป คงทำให้ การอยู่อาศัย ลำบากขึ้นมาก