บ้านสองชั้น

บ้านสองชั้น กะทัดรัด แต่คมชมในทุกมิติ

บ้านสองชั้น กะทัดรัด แต่คมชมในทุกมิติ

บ้านสองชั้น กะทัดรัด แต่คมชมในทุกมิติ

บ้านสองชั้น กะทัดรัด แต่คมชมในทุกมิติบ้าน ” เป็นคำเพียงหนึ่งคำที่เรียบง่าย แต่ในรายละเอียดนั้นมีเรื่องยาวยิบย่อยมากมาย ในขณะที่รูปร่างหน้าตาสไตล์โมเดิร์นคมชัด ดูน้อยๆ ไม่เยอะ ทั้งโทนสีและวัสดุ

แต่ก็ยังแฝงด้วยแนวคิด เทคนิคในการก่อสร้าง และสิ่งที่เป็นตัวตนของผู้อยู่อาศัยได้อย่างละเอียดละออ เหมือนเช่นบ้านหลังนี้ในประเทศอินโดนีเซีย ที่ให้นิยามว่าเป็นบ้านโมเดิร์นทรอปิคอล มองจากภายนอกทันสมัยเส้นตรง เส้นเฉียง เส้นสายตาชัดเจน แต่ภายในซ่อนมุมสดชื่นอ่อนโยนเอาไว้ให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบไม่แข็งกระด้าง

ASH House เป็นบ้านส่วนตัวที่ตั้งอยู่ในเขตชานเมืองของเมืองใหญ่ Banten  ประเทศ Indonesia โจทย์เบื้องต้นเมื่อพูดคุยกับเจ้าของเป็นครั้งแรก คือ ต้องการเปิดช่องเปิดขนาดใหญ่และการไหลเวียนของอากาศที่ดี และรู้สึกได้ถึงธรรมชาติตั้งแต่ทางเข้า สถาปนิกจึงประมวลผลออกมาในรูปแบบของบ้านโมเดิร์นทรอปิคอล บ้านบางแสน

ที่ดีไซน์หลังคาเฉียงสูง วัสดุโทนสีเทาสลับอิฐสีส้มและบล็อกคอนกรีตที่เข้ากันได้ดีกับสีพื้นเทา ตัดเส้นกรอบสายตาด้วยงานเหล็กสีดำ บ้านไม่จำเป็นต้องเปิดรับแสงจากด้านหน้า จึงดูค่อนข้างปิดแต่เปิดด้านอื่นแทน บริเวณทางเข้าออกแบบให้มีสวนเล็ก ๆ ที่สเต็ปบันไดเพื่อให้กลมกลืนกับภูมิทัศน์

เนื่องจากแนวคิดเริ่มต้นด้วยแนวทางสถาปัตยกรรมเขตร้อน สถาปนิกจึงออกแบบบ้านหลังนี้ให้มีช่องแสงธรรมชาติและช่องระบายอากาศจำนวนมาก โดยถัดจากประตูหน้าจะเป็นลานคอร์ทโถงสูงปลูกต้นไม้สูงทะลุถึงชั้นสอง

บ้านสองชั้น กะทัดรัด แต่คมชมในทุกมิติ

เพื่อที่ว่าในระหว่างวันจะไม่จำเป็นต้องใช้แสงไฟหรือเปิดเครื่องปรับอากาศ ประตูบ้านที่ใช้ก็ไม่ใช่ประตูไม้ทึบเหมือนบ้านทั่วไปแต่เป็นไม้กั้นที่มีช่องว่างระหว่างซี่ เพื่อให้อากาศยังไหลผ่านช่องว่างที่มีอยู่ได้ ประตูรุ่นนี้ทำให้อากาศหมุนเวียนในบ้านได้ดีมากเพราะมีการระบายอากาศแบบ “Cross Ventilation”

จากหน้าบ้านจะมีห้องโถงโล่งๆ นำทางไปที่บันไดขึ้นสู่ชั้นสองด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านจะเข้าสู่พื้นที่ใช้งานหลัก ๆ ของครอบครัวมีห้องนั่งเล่น ครัว และพื้นที่รับประทานอาหารอยู่ด้วยกันในจุดเดียว ระหว่างผนังและประตูจะมีช่องแสงช่องเปิดขนาดใหญ่ วัสดุที่ใช้ทำหลังคาเป็นกระจกในบางจุดดึงแสงเข้ามาลดการใช้ไฟส่องสว่างในช่วงกลางวันได้เป็นอย่างดี

ความเนี๊ยบของบ้านยังคงมีให้เห็นจากภายนอกสู่ภายใน ด้วยงานอินทีเรียที่ประณีตสวยงาม โดยเฉพาะงานไม้ที่ไม่มีที่ติ การเลือกโทนสีมีหลัก ๆ แค่ 3 สี คือสีขาว เทา ดำ จึงดูน่าสนใจแบบไม่ตีกันและไม่เชยหรือแก่ ส่วนวัสดุจะเลือกใช้แผ่นหิน กระเบื้องลายธรรมชาติ และไม้ เพื่อให้นำเสนอกลิ่นอายความโมเดิร์นที่ควบคู่ไปกับธรรมชาติผ่านองค์ประกอบของบ้านอย่างกลมกลืนลื่นไหล

ห้องนั่งเล่น ห้องทานอาหาร และ Pantry ทำเป็น Open Plan กว้างๆ เชื่อมต่อถึงกันได้หมดเป็นห้องเดียว ผนังด้านหนึ่งเป็นประตูกระจกสูงจากพื้นจรดเพดานยาวหลายเมตรติดกับสวน ช่วยเบลอขอบเขตให้บ้านและสวนเหมือนเป็นบริเวฯเดียวกัน สิ่งที่น่าสนใจของพื้นที่นี้คือพื้นที่ห้องนั่งเล่นถูกทำให้เป็นเหมือนหลุมต่ำกว่าระดับบ้านอื่นๆ และมีเพดานสูง 2 ชั้น เพื่อให้รู้สึกโอ่โถงเป็นพิเศาเมื่อเราอยู่ในห้องนี้

บ้านสองชั้น กะทัดรัด แต่คมชมในทุกมิติ

คอร์ทยาร์ทจากชั้นล่างบริเวณหน้าบ้าน เจาะสูงเปิดโล่งให้ต้นไม้เติบโตทะลุมาถึงชั้นบน ตรงจุดนี้จะมีหลังคาสกายไลท์โปร่งแสงขนาดใหญ่ ที่ช่วยให้พืชนำแสงไปใช้ในกระบวนการหายใจเพื่อสร้างพลังงานและอาหาร นอกจากนี้ยังเปิดวิสัยทัศน์ให้บ้านสามารถมองเห็นวิวท้องฟ้าสีครามใสในช่วงกลางวัน และดูดาวระยิบระยับตอนกลางคืนได้ด้วย เหมือนยกพื้นที่กลางแจ้งมาเก็บไว้ในบ้านแบบ inside out- outside in

ห้องนอนเป็นส่วนที่ตกแต่งง่ายๆ เรียบๆ ด้วยโทนสีขาวสลับงานไม้ มีห้องน้ำในตัวที่ตกแต่งด้วยกระเบื้อง Subway หินขัด และผนังทาสีเขียวให้อารมณ์แบบเรโทรเล็ก ๆ ต่างจากภาพลักษณืนอกบ้าน ซึ่งเป็นความชอบส่วนตัวของผู้เป็นเจ้าของ ขายบ้านภูเก็ต

บรรยากาศของบ้านดูเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิมในตอนกลางคืน ด้วยการออกแบบไฟประดับตกแต่งตามส่วนต่างๆ ของบ้าน ทั้งไฟฝังผนังข้างบันได ไฟ uplight, downlight หรือไฟซ่อน indirect light ที่ให้ความรู้สึกและจุดที่ต้องการเน้นต่างกัน แต่จะสังเกตว่าส่วนใหญ่จะเป็นสี warm และ natural white

ที่ให้แสงอบอุ่นละมุนตาสถาปัตยกรรมเขตร้อนชื้นหรือทรอปิคอลนั้น จะมีลักษณะเด่นด้านการใช้วัสดุธรรมชาติหรือวัสดุท้องถิ่นมาใช้เป็นองคืประกอบส่วนต่างๆ ของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นอิฐ หินหรือไม้ หากเป็นโมเดิร์นทรอปิคอลก็อาจเสริมด้วยวัสดุใหม่ๆ อาทิ เหล็ก กระจก 

ส่วนภายในจะนำเสนอการสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายในการพักอาศัยด้วยสเปซกว้างๆ การเข้าถึงธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นแสง ลม สวน น้ำ ที่จะทำหน้าที่ให้ความสว่าง การระบายและไหลเวียนอากาศที่ดี รวมไปถึงการสร้างความเย็นฉ่ำในช่วงฤดูร้อน

บ้านโชว์อิฐ ให้ผนังและบันไดเป็นจุดไฮไลท์ของบ้าน

บ้านสองชั้น กะทัดรัด แต่คมชมในทุกมิติ

แม้เวลาจะผ่านไปข้างหน้าเรื่อยๆ ในวงการก่อสร้างก็มีแนวคิดในการก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ วัสดุที่แปลกออกไปมาให้ได้เลือกใช้ตามอัธยาศัยทุกปี แต่จะมีวัสดุธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ยังคงได้รับความนิยมมาอย่างตือเนื่องยาวนาน นั่นก็คือ อิฐ ที่ทำมาจากดินเผาธรรมดา ๆ ที่อาจจะดูหลงยุคล้าสมัยในช่วงหนึ่ง

แต่ต้องยอมรับว่าคุณสมบัติ สัมผัส รวมถึงสีของอิฐเป็นเสน่ห์เฉพาะที่ทำให้เจ้าของบ้านและสถาปนิกมักหยิบจับมาใช้งานเสมอ เพียงแต่อาจนำมาปรับประยุกต์ในรูปแบบหน้าตาและฟังก์ชันที่ต่างออกไปให้สอดรับกับยุคสมัยและเทรนด์มากขึ้น

บ้านสองชั้นสไตล์โมเดิร์นเส้นสายเรขาคณิตเฉียบคมหลังนี้ สร้างอยู่ในเมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเจ้าของบ้านมีความสนใจใน “อิฐ” มากเป็นพิเศษ สถาปนิกจึงยึดวัสดุนี้เป็นเป็นข้อมูลอ้างอิงหลักในการออกแบบทั้งภายนอกและภายใน เพื่อสะท้อนตัวตนที่มีทั้งความทันสมัยจากเส้นสายและสีที่มีเพียงหลัก ๆ 3 สี นำมาจับคู่ให้ตัดกัน และความเคารพต่อวัสดุท้องถิ่นที่อยู่คู่อินโดนีเซียมาเนิ่นนาน

ภายในบ้านออกแบบให้มีความโปร่งโล่งและลื่นไหล ต่างจากภาพภายนอกที่ค่อนข้างปิด วางฟังก์ชันนั่งเล่น ครัว และห้องทานข้าวเอาไว้ด้วยกันในพื้นที่เดียว ผสมผสานความเป็นโมเดิร์นของเส้นสายเรขาคณิตและโทนสีธรรมชาติ ผ่านวัสดุปิดผิวที่ใช้แตกต่างหลากหลาย อาทิ ผนังฉาบคอนกรีตทาสีเทา สีขาว ผนังปิดวัสดุลายไม้ พื้นกระเบื้องสีขาว โต๊ะทานข้าวไม้แท้ชุดใหญ่คุมธีมสีให้ไปกันได้กับภายนอก

ความพิเศษที่เห็นได้ชัดอยู่ที่ตำแหน่งบันไดของบ้านหลังนี้ ซึ่งจะอยู่ใจกลางบ้านพอดิบพอดีและมีที่ว่างบนผนังสูงหลายเมตร สถาปนิกรู้สึกว่าต้องทำอะไรให้น่าสนใจมากขึ้น จึงใช้อิฐดินเผาสีส้มอมแดงเรียงเป็นแถวขึ้นไปแบบไม่สลับหว่างจนเต็มพื้นที่สูงสองชั้น จากนั้นก็ทำบันไดลอยจากเหล็กสีดำแบบไม่มีลูกตั้ง พร้อมช่องแสงด้านบนเพื่อให้แสงแดดส่องเข้ามากระทบบริเวณบันไดสร้างมิติของแสงเงาในเวลากลางวัน กลายเป็นจุดไฮไลท์ที่ต้องจับตามอง

การที่บ้านมีเส้นตรงมากเกินไป หรือสีวัสดุดิบๆ อย่างคอนกรีตเปลือยในบริเวณกว้าง อาจจะทำให้ภาพรวมดูโมเดิร์นก็จริง แต่ก็ตามมาด้วยความรู้สึกแข็งกระด้าง การใส่เส้นโค้งเข้าไปในบางจุด เช่นระเบียง ซุ้มประตู กันสาด บันได หรือใช้วัสดุที่ให้ความารู้สึกอบอุ่นอ่อนโยนอย่างอิฐและไม้เข้าไปแทรก จะทำให้น้ำหนักของบ้านและอารมณ์ความรู้สึกมีความสมดุลมากขึ้น

บ้านสองชั้น กะทัดรัด แต่คมชมในทุกมิติ

ในโครงการนี้ ไซต์หันไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นทิศที่รับแสงได้ดีที่สุดในตอนกลางวัน ดังนั้นทีมงานจึงออกแบบ Facade ให้ต้านทานกับความร้อนได้ดีขึ้นโดยก่อผนังให้ปิดทึบมีช่องเปิดเล็กน้อย เพื่อลดแสงแดดที่ส่องเข้ามาในบ้าน ส่วนฝั่งตรงข้ามจะจัดให้มีช่องแสงขนาดใหญ่เป็นช่องรับแสงหลักในบ้านตั้งแต่เช้าจรดเย็น อิฐ

นอกจากจะเป็นวัสดุบ้านๆ ที่เพิ่มกลิ่นอายของธรรมชาติ และสื่อถึงบรรยากาศแบบเขตร้อนแล้ว ในแง่ของคุณสมบัติของวัสดุก็สอดคล้องกับสภาพอากาศคือ อิฐเป็นวัสดุยอมให้ความร้อนถ่ายเทเข้าง่าย แต่จะค่อยๆ ถ่ายเทสู่ภายนอกช่วงค่ำ และไม่ดูดซับความชื้นเอาไว้ในตัวมากเกินไป แต่ก็จะยังคงรู้สึกร้อนมาก ๆ

ได้หากอยู่ในโซนที่อากาศร้อนจัด หรือผนังบ้านหลักหันไปทางทิศตะวันตก ซึ่งสามารถรับแสงแดดได้เต็มที่หลายชั่วโมงต่อวัน ถ้ามีงบประมาณสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการต้านทานความร้อน โดยทำเป็นผนังอิฐสองชั้นจะช่วยลดร้อนให้บ้านเย็นเห็นความต่างได้ชัดเจน

ข้อดีของสร้างบ้าน 2 ชั้น

เรามาเริ่มจากการดูข้อดีของสร้างบ้าน 2 ชั้นกันก่อนครับว่ามีข้อดีอย่างไร และตอบโจทย์การใช้ชีวิตของเราหรือเปล่า โดยข้อดีหลักๆ ของการสร้างบ้าน 2 ชั้นดังนี้ครับ

1. มีพื้นที่ใช้สอยเยอะ แม้เนื้อที่จำกัด

ข้อดีแรกของการสร้างบ้าน 2 ชั้นก็คือการได้พื้นที่ใช้สอยมาก แม้พื้นที่บ้านจะถูกจำกัด เนื่องจากเราจะได้พื้นที่บ้านชั้นที่สองเพิ่มเติมอีกเท่าตัวหนึ่งจากชั้นที่หนึ่ง ซึ่งใครที่ต้องการขยายห้อง หรือเพิ่มจำนวนสมาชิก และต้องการความเป็นส่วนตัวสูง หรือรักษาระยะห่างระหว่างกัน การสร้างบ้าน 2 ชั้นนี้ตอบโจทย์และเหมาะสมมากๆ ครับ หากเราไม่สามารถขยายบ้านแนวกว้างได้ การขยายพื้นที่แนวสูงจึงเป็นไอเดียที่ดีมากๆ

2. มีความปลอดภัยสูง

บ้านชั้นเดียวนั้นเสี่ยงต่อสัตว์ร้าย น้ำท่วม และโจรขโมยมากกว่าการสร้างบ้าน 2 ชั้น เนื่องจากการสร้างบ้าน 2 ชั้นนั้น จะมีชั้นที่สองที่สัตว์เลี้อยคลานจำพวกงู ตะขาบ กิ้งกือ เป็นต้นขึ้นมาได้ลำบาก ทำให้บ้าน 2 ชั้นค่อนข้างปลอดภัยต่อสัตว์เลื้อยคลานมากกว่า 

รวมทั้งยังปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน เมื่อถึงคราวน้ำท่วมด้วย เพราะเราสามารถเคลื่อนย้ายของสำคัญในบ้านจากชั้นหนึ่งขึ้นไปไว้ที่ชั้นสองได้ หากชั้นหนึ่งน้ำท่วม ไม่เพียงแต่สิ่งของสำคัญจะปลอดภัยเท่านั้น แต่ชีวิตของผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านก้จะปลอดภัย และพักพิงที่ชั้นสองแทนชั้นหนึ่งได้หากสถานการณ์น้ำท่วมชั้นหนึ่งยังไม่คลี่คลาย

3. ออกแบบการใช้งานได้หลากหลายกว่า

เนื่องจากการสร้างบ้าน 2 ชั้นนั้นช่วยให้เรามีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้นกว่าบ้านชั้นเดียวเป็นเท่าตัว จึงทำให้เราสามารถออกแบบฟังก์ชัน หรือพื้นที่ใช้งานในบ้านได้ง่ายและหลากหลายมากกว่าจากพื้นที่ใช้สอยที่มากขึ้น แถมหากบ้านไหนที่มีสมาชิกในบ้านหลายคนก็จะช่วยลดความขัดแย้งที่อาจเกิดจากการเลือกใช้พื้นที่ใช้งานหรือการตกแต่งด้วยนะครับ

4. เหมาะกับครอบครัวขนาดกลาง-ใหญ่

ด้วยพื้นที่ใช้สอยที่มากกว่าบ้านชั้นเดียว ทำให้การสร้างบ้าน 2 ชั้นสามารถแบ่งสัดส่วนห้องต่างๆ ได้อย่างชัดเจนและหลายห้อง ทำให้สมาชิกแต่ละคนในบ้านอาจจะมีห้องของตัวเองได้ อีกทั้งยังมีความเป็นส่วนตัวสูง ทำให้การอยู่ด้วยกันไม่อึดอัดอย่างแน่นอนครับ

5. ดูมีมูลค่าสูง

การสร้างบ้าน 2 ชั้นมักดูมีมูลค่าสูงกว่าบ้านชั้นเดียวในขนาดเนื้อที่เท่ากัน เพราะมีพื้นที่ใช้สอยมากกว่า  แถมยังตกแต่งบ้านได้อย่างหลากหลายรูปแบบมากกว่าด้วย เพราะมีห้องต่างๆ หรือมุมต่างๆ ให้ตกแต่งได้มากกว่าบ้านชั้นเดียว

6. ผู้อยู่อาศัยมีความเป็นส่วนตัวสูง

อย่างที่บอกไปว่าการสร้างบ้าน 2 ชั้นมีพื้นที่ใช้สอยเยอะ มีการแบ่งสัดส่วนห้องที่ชัดเจน จึงทำให้ผู้อยู่อาศัยแต่ละคนในบ้านมีพื้นที่ส่วนตัวของตัวเอง อีกทั้งหากใครที่สมาชิกในบ้านน้อย แต่ชอบแยกสัดส่วนกินข้าว ทำงาน และพักผ่อนก็ยังสามารถแยกห้องออกจากกันได้อย่างชัดเจน ไม่เพียงเท่านั้นหากมีแขกของสมาชิกในบ้านมาเยี่ยมบ้านเรา เราก็ไม่ต้องกังวลว่าจะรบกวนแขก เพราะเรามีพื้นที่ส่วนตัว ขณะเดียวกันแขกก้จะไม่รบกวนเราด้วยเช่นกัน